เมนู

หยั่งลงภายใน ในทุกขสัจ. ตัณหาวิจริต 36 หยั่งลงภายใน ใหสมุทยสัจ.
นิโรธสัจไม่มีอะไรเจือปน ธรรมมีวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละและ
ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน
ในมรรคสัจ. วิตก 3 มีเนกขัมมวิตกเป็นต้นโดยอิงอาศัยสัมมาสังกัปปะเป็นธรรม
หยั่งลงภายใน วจีสุจริต 4 โดยอิงอาศัยสัมมาวาจาเป็นธรรมหยั่งลงภายใน กาย
ทุจริต โดยอิงอาศัยสัมมากัมมันตะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ความมักน้อยและ
ความสันโดษโดยมีสัมมาอาชีวะเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายในนับเข้าใน
มรรคสัจ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะทั้งหมด
เหล่านี้เป็นอริยกันตศีล เพราะศีลอันบุคคลพึงรับด้วยมือคือศรัทธา และเพราะ
ความที่ศีลจะมีอยู่ก็เพราะความที่สัมมาวาจาเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ สัทธินทรีย์
สัทธา พละ ฉันทิทธิบาท จึงเป็นชาติหยั่งลงในภายใน. สัมมัปปธาน 4 วิริยิท-
ธิบาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาวายามะเป็นธรรม
หยั่งลงภายใน สติปัฏฐาน 4 สตินทรีย์ สติพละ และสติสัมโพชฌงค์ โดยอิง
อาศัยสัมมาสติ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน สมาธิอย่างละ 3 คือสมาธิมีวิตกและ
มีวิจารเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน
คือนับเข้าในมรรคสัจ.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในสัจจะนี้ ด้วย
ประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา


ก็ในข้อว่า โดยอุปมา นี้ พึงเห็นทุกขสัจเหมือนของหนัก สมุทัยสัจ
เหมือนการถือของหนัก นิโรธสัจเหมือนวางของหนัก มรรคสัจเหมือนอุบาย

เป็นเครื่องวางของหนัก. อนึ่ง ทุกขสัจเป็นดังโรค สมุทยสัจเป็นดังสมุฏฐาน
ของโรค นิโรธสัจเป็นดังความสงบของโรค มรรคสัจเป็นดังเภสัช.
อีกอย่างหนึ่ง ทุกขสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้โดยยาก สมุทยสัจ
เปรียบเหมือนฝนไม่ดี นิโรธสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้ง่าย มรรคสัจ
เปรียบเหมือนฝนดี.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้โดยอุปมาประกอบด้วยคนมีเวร
มูลเหตุแห่งเวร การถอนขึ้นซึ่งเวร อุบายการถอนขึ้นซึ่งเวร และพึงทราบ
ด้วยต้นไม้มีพิษ รากเหง้าของต้นไม้มีพิษ การโค่นตัดต้นไม้มีพิษ อุบาย
โค่นตัดต้นไม้มีพิษ และพึงทราบด้วยมีภัย เหตุที่มีภัย ความปลอดภัย อุบาย
ให้ปลอดภัย และพึงทราบด้วยฝั่งนี้ ห้วงน้ำใหญ่ของฝั่งนี้ ฝั่งโน้น และผู้พยายาม
ให้ถึงฝั่งโน้นนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยโดยอุปมาในอริยสัจนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยวินิจฉัยโดยจตุกะ (หมวด 4)


ข้อว่า โดยจตุกะ ความว่า ก็บรรดาสัจจะ 4 เหล่านี้ ธรรมที่
เป็นทุกข์แต่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจก็มี ธรรมที่เป็นอริยสัจไม่เป็นทุกข์ก็มี ธรรมที่
เป็นทุกข์ด้วยเป็นอริยสัจด้วยก็มี ธรรมที่ไม่เป็นทุกข์และไม่ใช่อริยสัจก็มี.
ในสมุทัยเป็นต้นก็นัยนี้.
ในจตุกะนั้น ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผล
ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นสังขารทุกข์ โดยพระบาลีว่า ยทนิจฺจํ
ตํ ทุกฺขํ (สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์)* แต่ไม่ใช่อริยสัจ นิโรธเป็นอริยสัจ
* สํ. ขนฺธวาร เล่ม 17 42/28